การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล
สื่อการสอนสุขศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฐมพยาบาลผู้ที่มีกระดูกหัก

การปฐมพยาบาลผู้ที่มีกระดูกหัก


กระดูกของคนเราอาจเกิดแตกหักได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ระมัดระวังหรือไม่ป้องกันอันตราย เช่น การถูกกระแทกจากอุบัติเหตุต่างๆ การสะดุด การบิด หรือการกระชาก ลักษณะของกระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • หักออกจากกันเป็น 2 ส่วน อาจหักธรรมดาไม่มีบาดแผลหรือหักมีบาดแผล กระดูกแตกละเอียด จะมีอันตรายเมื่อมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท หรือกระดูกที่หักแทงทะลุอวัยวะภายในที่สำคัญ

  • กระดูกหักไม่ขาดออกจากกัน มีลักษณะกระดูกร้าว กระดูกเดาะ หรือกระดูกบุบ ลักษณะอาการจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่กระดูกหัก อาการทั่ว ๆ ไป อาจมีอาการช็อก มีอาการบวม และร้อน ลักษณะกระดูกผิดรูปร่างไปจากเดิม เคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้าจับดูจะมีเสียงกรอบแกรบ อาจมีบาดแผลที่ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หัก หรือพบปลายกระดูกโผล่ออกมาให้เห็นชัดเจน


  • การปฐมพยาบาล

    1. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ประคองและจับส่วนที่บาดเจ็บอย่างมั่นคง อย่าพยายามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยไม่จำเป็น หรือจนกว่าส่วนของกระดูกที่หักจะได้รับการเข้าเฝือกแล้ว
    2. ใส่เฝือกชั่วคราว โดยใช้วัสดุที่หาง่าย เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษแข็ง ไม้ไผ่ เป็นต้น ( ถ้าเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ เช่น กระดูกโคนขา อาจใช้ขาข้างดีเป็นตัวยึดก็ได้) และก่อนเข้าเฝือก ควรใช้ผ้าสะอาดพันส่วนที่หักให้หนาพอสมควร หรือทำการห้ามเลือดก่อน ถ้ามีเลือดออกมาก
    3. พันผ้ายืดไม่ให้เคลื่อนไหว ระวังอย่าพันให้แน่นจนเกินควร เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่ได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ถ้าเป็นปลายแขน หรือมือ ใช้ผ้าคล้องคอ  
    4. ถ้ากระดูกหักโผล่ออกมานอกเนื้อ อย่าดันกลับเข้าที่เดิมเด็ดขาด เพราะจะทำให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกจากภายนอกเข้าไปในแผลส่วนลึกได้ ให้หาผ้าสะอาดคลุม หรือปิดบาดแผลไว้
    5. ให้ยาแก้ปวดหากปวดแผลมาก เช่น พาราเซตะมอล และห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
    6. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ซึ่งการเคลื่อนย้ายผู้ที่บาดเจ็บต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวน้อยที่สุด

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น