การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล
สื่อการสอนสุขศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฐมพยาบาลผู้ที่มีบาดแผล

การปฐมพยาบาลผู้ที่มีบาดแผล



บาดแผล แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
1.             แผลฟกช้ำ เกิดจากการกระแทกจากของไม่มีคม ทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและเลือดออกใต้ผิวหนัง มีอาการเจ็บปวด บวม และผิวหนังมีสีแดง ถ้ามีความรุนแรงมากขึ้น หลอดเลือดใต้ผิวหนังจะฉีกขาดด้วย ทำให้ผิวหนังมีสีแดงคล้ำ หรือม่วง
การปฐมพยาบาล
1.             ยกและประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่สบาย
2.             ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบเบาๆบริเวณแผลช้ำ นานประมาณ 30 นาที แล้วใช้ผ้ายืดพันไว้ให้แน่นพอสมควร เพื่อให้เลือดหยุดและช่วยจำกัดการเคลื่อนไหว และให้บริเวณแผลช้ำนั้นอยู่นิ่งๆนาน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ประคบบริเวณแผลด้วยความร้อน เพื่อให้อาการบวมช้ำลดลง 
2.             แผลถลอก เป็นบาดแผลตื้นๆ มีผิวหนังถลอกหรือรอยขูดข่วน มีเลือดออกเล็กน้อย และเลือดมักหยุดไหลเอง
การปฐมพยาบาล
1.             ห้ามเลือด ถ้าเลือดยังไหลไม่หยุด โดยใช้ผ้าสะอาดกดไว้เบาๆหรือใช้ผ้าพันแผลกดแผลไว้นิ่งๆ
2.             ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และเอาเศษผงต่างๆหรือกรวดดินออกให้หมด
3.             ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดรอบแผลเบาๆ อย่าให้แผลโดนสบู่เพราะจะทำให้ระคายเคือง
4.             ทำแผลด้วยยาใส่แผลสด เช่น เบตาดีน ไม่ต้องปิดแผล
3.  บาดแผลถูกของมีคม เกิดจากของมีคม ประเภทใบมีด กรรไกร เศษแก้วหรือกระจก ความลึกของบาดแผลสามารถทำอันตรายต่อเซลล์ผิวหนัง เส้นลือด กล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทได้ และเลือดที่ออกจากแผลประเภทนี้มักจะไหลออกมาก

  1. การปฐมพยาบาล           ต้องห้ามเลือดก่อน เมื่อเลือดหยุดแล้วทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำสะอาด น้ำต้มสุก น้ำเกลือ หรือน้ำผสมด่างทับทิม อย่าเช็ดเลือดก้อนที่แข็งตัวอยู่ออก เพราะจะทำให้เลือดออกจากแผลอีก ระหว่างทำความสะอาดบาดแผลต้องสังเกตลักษณะบาดแผลว่ามีความกว้าง ยาว ลึก หรือมีสิ่งแปลกปลอมหักค้างอยู่หรือไม่ หากไม่ลึกมากควรเอาออก กรณีบาดแผลบริเวณแขน ขา ควรให้อวัยวะส่วนนั้นพักนิ่งๆ เมื่อทำความสะอาดบาดแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด แต่ถ้าแผลลึกมากควรห้ามเลือด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล
              หลักการห้ามเลือดที่มีเสียเลือดภายนอกจำนวนมาก
  2. การกดบนบาดแผลโดยตรง เป็นการใช้ผ้าสะอาดพับวางบนบาดแผลแล้วใช้นิ้วมือกดลงโดยตรงอย่าง น้อย 10 นาที
  3. ยกส่วนที่มีบาดแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ (กรณีมีบาดแผลบริเวณแขน ขา) ถ้ามีกระดูกหักห้ามยก
  4. ปิดทับผ้าสะอาดนั้นอีกชั้นให้แน่นด้วยผ้าพันแผล หากเลือดยังไม่หยุดให้ใช้ผ้าพันแผล พันทับลงไปให้แน่นอีกผืนหนึ่ง
  5. กดบนหลอดเลือดแดงใหญ่ โดยการใช้นิ้วกดลงบนหลอดเลือดแดงเหนือบาดแผล ตรงจุดที่จับชีพจรได้ จะทำให้เลือดไหลออกจากแผลน้อยลง
5.  บาดแผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุไม่มีคมที่มีความแรงทำให้ผิวหนังฉีกขาดได้ ขอบแผลมักขาดกะรุ่งกะริ่ง หรือมีการชอกช้ำของแผลมาก จะเจ็บปวดมาก มักจะมีการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนได้มาก จึงมีแนวโน้มของการติดเชื้อสูง
การปฐมพยาบาล
  1. ปิดแผลทันทีด้วยผ้าที่สะอาด กดไว้เบาๆหรือใช้ผ้าพันแผลกดแผลไว้นิ่งๆ เพื่อเป็นการห้ามเลือด
  2. ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด และใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบๆแผล
  3. รีบนำส่งแพทย์เพื่อตกแต่งบาดแผล และเย็บแผล ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และอาจต้องรับประทานยาแก้อักเสบ ถ้าแผลสกปรกมาก
  4.  
6.  แผลถูกแทง เกิดจากวัตถุปลายแหลม เช่น มีดปลายแหลม กริช ไม้ ฯลฯ แม้ว่าปากแผลจะเล็ก แต่มักจะลึก ถ้าลึกลงไปถูกอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ตับ ไต กระเพาะอาหาร ฯลฯ จะทำให้ตกเลือดภายในได้มาก
การปฐมพยาบาล           ถ้าผู้ป่วยมีอาการเป็นลม หน้าซีด แสดงว่ามีเลือดตกใน อย่าตกใจให้ผู้ป่วยนอนราบ ศีรษะต่ำ ไม่ควรให้กินอะไรทั้งสิ้น รีบนำส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจบาดแผลที่ถูกแทงว่าถูกอวัยวะสำคัญหรือไม่ และหากพบสิ่งหนึ่งสิ่งใดหักคาอยู่บนปากแผล อย่าพยายามดึงออก เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น หรือเพิ่มอันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง ควรใช้ผ้าสะอาดบางๆ คลุมไว้ และให้นอนนิ่งๆ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยจัดผู้ป่วยให้นอนราบขณะเคลื่อนย้าย
 
7.  แผลถูกยิง เป็นแผลที่เกิดจากกระสุนปืน เห็นเป็นรอยกระสุนปืนเข้าและออก ซึ่งรูเข้าจะเล็กกว่ารูออก หรือกระสุนอาจฝังในก็ได้ มีอันตรายต่ออวัยวะภายในและอาจมีการตกเลือดภายในได้ ถ้ากระสุนเข้าไปถูกอวัยวะที่สำคัญภายใน
การปฐมพยาบาล
          ให้ผู้บาดเจ็บนอนพักนิ่ง ๆ ยกปลายเท้าสูง ให้โลหิตไปเลี้ยงสมองมากที่สุด ห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไม่ควรให้ผู้บาดเจ็บกินอะไรทั้งสิ้น ถ้ามีเลือดออกมากต้องห้ามเลือด ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
8.  แผลถูกตำ ส่วนมากเกิดจากวัตถุประเภทตะปู เข็ม หรือเข็มหมุด เศษแก้ว หนาม ทิ่มตำ ซึ่งปกติแผลประเภทนี้จะมีเลือดออกไม่มากนัก หรือแทบไม่เห็นเลือดไหลออกมาเลย และแผลเกือบจะปิดในทันที จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากวัตถุที่ทำให้เกิดแผลอาจมีสปอร์ของเชื้อบาดทะยักหรือเชื้อโรคอื่นๆติดอยู่ โดยเฉพาะถ้าวัตถุนั้นเคยสัมผัสดินมาก่อน
การปฐมพยาบาล           ให้ดึงของแหลมที่ทิ่มตำผิวหนังนั้นออก เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ปิดแผลด้วยผ้าที่สะอาด แล้วรีบนำส่งพบแพทย์ทันที เพื่อทำความสะอาดแผลที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง ชะล้างเอาสิ่งสกปรกออกให้หมด อาจต้องเปิดแผลให้กว้างขึ้น เพื่อไม่ให้แผลกลายเป็นแผลติดเชื้อ และต้องรับประทานยาแก้อักเสบพร้อมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
 
9.  บาดแผลถูกสัตว์กัด สัตว์ทุกชนิด(โดยเฉพาะสุนัข แมว หนู รวมทั้งคน) จะมีเชื้อโรคอยู่ในปาก เมื่อถูกกัดบาดแผลที่ลึกจะนำเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อเยื่อได้มาก การปฐมพยาบาลจึงต้องทำทันที แล้วตามด้วยการรักษาของแพทย์

9.1 บาดแผลตื้น
  1. ล้างบาดแผลให้ทั่วด้วยน้ำสะอาดอ่างน้อย 5 นาทีหรือด้วยสบู่และน้ำอุ่น
  2. ซับบาดแผลให้แห้ง แล้วปิดด้วยปลาสเตอร์หรือผ้าทำแผลเล็กๆ
  3. แนะนำให้ผู้ที่ถูกกัดไปพบแพทย์
9.2 บาดแผลฉีกขาด หรือลึกมาก
  1. ห้ามเลือด ตามหลักการห้ามเลือด
  2. กดบาดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อ หรือผ้าสะอาดพันให้อยู่กับที่
  3. นำผู้ที่ถูกกัดไปส่งโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น